ยินดีต้อนรับทุกท่าน สำหรับท่านที่ต้องการความรู้พื้นฐานสำหรับบุคลทั่วไป หรือเจ้าของกิจการ,เจ้าของโรงงาน,เจ้าของที่ดิน ติดต่อสอบถาม 02 108 6880

การบดอัดวัสดุงานวิศวกรรมโยธา

เทคอนกรีต ลาดยางมะตอย ลานจอดรถ ถนน

     การบดอัดดินฟังดูแล้วอาจจะเหมือนง่ายๆ เพียงแค่นำรถบดเข้าไปวิ่งๆก็แล้วเสร็จงาน แต่จริงๆแล้วมันมีรายละเอียดยิบย่อยที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้งานการบดอัดดินนั้นออกมามีคุณภาพสูงสุด ในการบดอัดดินมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดสรรวัสดุที่ดี เพื่อให้สามารถถมดินและบดอัดดินให้มีความแน่นได้ ซึ่งวัสดุตัวนั้นจะต้องเอื้ออำนวยต่อการบดอัดด้วย การบดอัดดินจนแน่นเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นผลดี อาจจะดีอยู่ที่ในอนาคตแนวโน้มการทรุดตัวของดินจะมีน้อย แต่การบดอัดดินจนแน่นเกินไปจะทำให้ปลูกต้นไม้ไม่ได้ ต้นไม้จะขึ้นได้ยาก แล้วการบดอัดดินควรเลือกวัสดุแบบไหน? ที่แนะนำเลยก็คือควรเลือกวัสดุที่มีความแห้ง มีความชื้นของดินน้อย พวกดินลูกรัง ดินดาน ดินซีแล็ค หน้าดิน เพราะดินที่มีความแห้งมากพอจะมีการคงรูป อยู่ตัวและบดอัดได้ดี หรือมีค่า CBR สูง (ค่า CBR = California Bearing Ratio = อัตราการเปลี่ยนรูปวัสดุ) เนื่องจากพวก ดินลูกรัง หินคลุก หรือทราย จะมีค่า CBR สูงเมื่อโดนน้ำก็ยังคงรูปเดิม สามารถรับน้ำหนักได้ดี แต่พวกดินดำ ดินเหนียว จะมีค่า CBR ต่ำเมื่อโดนน้ำก็จะอ่อนตัวและเปลี่ยนรูปไปเลย ทำให้ไม่เหมาะกับการบดอัด ส่วนเรื่องราคาของดินถมก็แปรผันตามคุณสมบัติเฉพาะตัวดินลูกรังก็แพงหน่อย ดินเหนียวก็ถูกหน่อย ทั้งนี้การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและจุดประสงค์ในการถมดินนั่นเอง 

     ในขั้นตอนการบดอัดดินที่ถมไป ส่วนมากก็จะใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เรียกว่า รถบด หรือภาษาทางการเรียกว่า รถคอมแพคเตอร์ (Compactors) หลายคนคงเคยเห็นกันมาบ้างแล้วตามท้องถนนที่กำลังมีการก่อสร้าง ลาดยางมะตอย หน้าตาของเจ้ารถบดจะเป็นรถขนาดใหญ่มีล้อเหล็กกลมๆขนาดใหญ่มากอยู่ด้านรถ รถบดนี้มีหลายขนาดแบ่งออกตามน้ำหนักของรถและประเภทการใช้งาน โดยมีขนาดเล็กแบบคนเดินตาม จนถึงแบบที่มีขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ น้ำหนักก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ 1 ตัน ไปจนถึง 35 ตัน เจ้ารถบดนี้สามารถบดได้สองแบบคือ การเปิดสั่น คือจะหมุนด้วยเฟืองเบี้ยว จะมีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มแรงกระแทกทำให้เกิดแรงบดที่มากขึ้น เพราะการบดส่วนใหญ่จะบดอัดพวกดินลูกรัง หินคลุก จึงจำเป็นต้องใช้แรงบดอัดมากๆ และอีกแบบหนึ่งคือการบดแบบไม่เปิดสั่น ก็คือการเดินรถบดธรรมดา ใช้เมื่อดินที่ถมมาเป็นดินเหนียว ดินทั่วๆไปที่มีความชื้นและเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่อโดนน้ำ และยุบตัวได้ง่าย หากใช้การเปิดสั่นเมื่อ เกิดแรงกระแทกแรงๆ จะทำให้ดินหนีตัว รถบดอาจติดหล่มและจมลงไปได้ และสิ่งที่พิเศษที่สุดคือหากพื้นที่นั้นต้องการการบดอัดแบบพิเศษที่ต้องการความหนาแน่นสูงๆ รถบดก็สามารถเปลี่ยนล้อเหล็กด้านหน้า จากแบบเรียบให้เป็นแบบหนามเพื่อเพิ่มแรงบดได้อีกด้วย

 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

จันทร์-ศุกร์ เวลาทำการ 09.00-18.00น.

ฝ่ายขาย 0 2108 6880-1  ต่อ 212

สายด่วน 09 1698 9455  จันทร์-อาทิตย์ 09.00-22.00น.

ID Line : patapee_pce

E-mail : patapee_thailand@hotmail.com

 

ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการเตรียมพื้นที่แล้ว ให้ราดน้ำชั้นดินเดิมหรือคันทางเดิมที่ได้เตรียมไว้แล้วให้เปียกชื้นสม่ำเสมอโดยทั่วตลอด ใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมขนดินไปปูบนชั้นที่ได้เตรียมไว้แล้วตีแผ่ เกลี่ยวัสดุ คลุกเคล้า ผสมน้ำ โดยที่ประมาณว่าให้มีปริมาณน้ำที่ปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการบดอัด (Optimum Moisture Content) ± 3% โดยค่าปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุดนี้ได้จาก Compaction Test แบบมาตรฐาน

หลังจากเกลี่ยแต่งดินจนได้ที่แล้วให้ทำการบดทับทันทีด้วยเครื่องมือบดทับที่เหมาะสม บดทับทั่วผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ จนได้ความหนาแน่นตลอดความหนาตามข้อกำหนด

การก่อสร้างชั้นดินถมคันทางให้ก่อสร้างเป็นชั้นๆ โดยให้มีความหนาเท่าๆ กัน และแต่ละชั้นหนามีความหนาหลังการบดทับชั้นละไม่เกิน 300-500 มิลลิเมตร โดยที่เมื่อได้ก่อสร้างชั้นดินถมคันทางชั้นแรกจนได้ความยาวพอเหมาะที่จะก่อสร้างชั้นดินถมคันทางในชั้นถัดไปแล้ว ให้ดำเนินการทดสอบความแน่นของการบดทับ หากผลที่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด ก็ให้ดำเนินการก่อสร้างชั้นดินถมคันทางชั้นถัดไปให้ได้ตามข้อกำหนด

การบดทับให้กระทำในทิศทางเดียวกับแนวศูนย์กลาง โดยเริ่มจากขอบทางเข้าแนวศูนย์กลางทาง ด้วยเครื่องมือบดทับที่เหมาะสมกับสภาพของงานก่อสร้าง โดยความเห็นชอบของนายช่างผู้ควบคุมงาน

ส่วนของคันทางที่อยู่ติดข้างท่อ หรือคอสะพาน หรือบริเวณใดก็ตามที่เครื่องมือบดทับขนาดใหญ่ไม่สามารถจะเข้าไปบดทับได้ทั่วถึง ให้ใช้เครื่องมือบดทับขนาดเล็กที่นายช่างผู้ควบคุมเห็นว่าเหมาะสมเข้าไปทำการบดทับแทน และให้ทำการก่อสร้างเป็นชั้นๆ ตามข้อกำหนด

ก่อนการปูชั้นดินถมคันทางชั้นถัดไป ให้ทำการพ่นน้ำให้ผิวหน้าของชั้นดินถมคันทางที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ชุ่มชื้น ถ้าผิวหน้าของชั้นดินถมคันทางเรียบเป็นมัน จะต้องทำการครูดผิวหน้า (Scarify)ของชั้นดินถมคันทางที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วให้เป็นริ้วรอยก่อน แล้วค่อยพ่นน้ำให้ชุ่มชื้น

ผิวหน้าของชั้นดินถมคันทางที่ได้ก่อสร้างไปแล้ว ควรมีความชุ่มชื้นพอควรในขณะทำการปูชั้นดินถมคันทางในชั้นถัดไป เพื่อช่วยให้วัสดุแต่ละชั้นยึดกันดี ผิวหน้าที่หยาบของวัสดุที่ได้ก่อสร้างไปแล้วที่มีความชื้นพอเหมาะ จะช่วยให้เกิดการเกาะยึดที่ดีกับชั้นดินถมคันทางที่จะก่อสร้างทับลงไป

      เมื่อได้ก่อสร้างจนเสร็จชั้นสุดท้ายแล้วให้เกลี่ยดินจนได้แนว ระดับ ความลาด ขนาด และรูปตัดตามที่ได้แสดงไว้ในแบบ ไม่มีหลุมบ่อหรือวัสดุที่หลุดหลวมไม่แน่นอยู่บนผิว

 

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2